การวิเคราะห์ ประจำสัปดาห์ (Forex vs Crypto Currency)

บทวิเคราะห์ฟอเร็กซ์และบิทคอย ประจำวันที่ 15 – 19 มีนาคม 2021

อันดับแรกเป็นการทบทวนเหตุการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว:

  • EUR/USD ในครั้งที่แล้ว นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารเฟดทำให้ตลาดอเมริกันติดลบด้วยถ้อยแถลงของเขาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เขามีท่าทีที่นิ่งเฉยต่อผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น ซึ่งเกือบทำระดับสูงสุดในรอบปี ในขณะเดียวกัน เขาได้ให้สัญญาณโอกาสที่จะใช้นโยบายทางการเงินแบบตึงตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ
    และแม้ว่าประธานธนาคารเฟดคนนี้เน้นย้ำว่า เศรษฐกิจยังอยู่ห่างไกลจากภาวะรุนแรง และเขาเองยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ตลาดก็เริ่มได้รับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในนโยบายทางการเงิน ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับค่าเงินดอลลาร์ และตลาดหุ้นปรับสู่ขาลง ดัชนี S&P500 ปรับตัวลงมา 120 จุด และดัชนี Dow Jones Industrial Average ปรับลงมากว่า 300 จุด
    และหลังจากนั้น ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงในวันอังคารที่ 9 มีนาคม หุ้นเทคโนโลยีเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สถิติจากตลาดแรงงานเป็นบวก มีการเติบโตในสินทรัพย์ของครัวเรือน และร่างกฎหมายที่ลงนามโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เกี่ยวกับมาตรการเยียวยามูลค่า $1.9 ล้านล้านเหรียญรอบใหม่ มีส่วนดันตลาดหุ้นอเมริกันขึ้นไป ดัชนี S&P500 ไม่เพียงแต่จะฟื้นตัวจากส่วนที่ติดลบไปเท่านั้น แต่ยังทำระดับสูงสุดใหม่อีกด้วยที่ 3.960 ในทางกลับกัน ผลตอบแทนระยะยาวของพันธบัตรก็เริ่มคงที่ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นแม้ว่าปริมาณจำนวนคำขอที่ส่งมาสูงกว่าปริมาณที่ออกให้ได้ 2.38 เท่า และนักลงทุนต่างชาติซื้อสินทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 20% ของปริมาณทั้งหมดที่ $38 พันล้านดอลลาร์
    ราคาคู่ EUR/USD ได้ขยับขึ้นถึงระดับ 1.1990 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม เนื่องด้วยปัจจัยเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม ราคาไปไม่ถึงระดับ 1.2000 แนวโน้มขาลงของราคาและการอ่อนค่าลงของยูโรเป็นผลมาจากคำแถลงของฝ่ายบริหารธนาคารกลางยุโรปเกี่ยวกับการเพิ่มอัตราการซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการซื้อพันธบัตรฉุกเฉิน หรือ PEPP แต่ปรากฏว่าดูไม่น่าเชื่อถือเพียงพอ และไม่มีส่วนใดที่พูดถึงการขยายมาตรการ PEPP ทำให้แนวโน้มขาลงของราคาคู่นี้ไม่มีกำลังแรงเท่าไรนัก และราคาปิดตลาดท้ายสัปดาห์ที่ 1.1950

  • GBP/USD ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกำลังสงสัยว่าเงินปอนด์ได้ตัดผ่านระดับสูงสุดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์แล้วหรือไม่ ถึงเวลาที่ราคาเริ่มแข็งตัวกับเงินดอลลาร์หรือยัง? เงินปอนด์แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่น่าประทับใจที่ 2,830 จุด เทียบกับเงินดอลลาร์ (จาก 1.1410 ขึ้นมาที่ 1.4240) โดยเริ่มตั้งแต่สัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม 2020 และเราก็เริ่มสังเกตเห็นเทรนด์ด้านข้างของคู่ GBP/USD พร้อม Pivot Point ที่ 1.3900 มาตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กรอบด้านบนก็เห็นได้อย่างค่อนข้างชัดเจน มีแนวต้านอยู่ที่ 1.4000 และแนวรับปรากฏสองเส้น คือ เส้นด้านล่างที่ใกล้ที่สุด คือ 1.3850 และเส้นถัดไป คือ 1.3775
    กราฟ GBP/USD ในสัปดาห์ที่แล้วนั้นคล้ายกับกราฟ EUR/USD มาก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าทั้งเงินปอนด์และยูโรไม่ใช่ผู้เล่นที่เป็นอิสระในตลาดในขณะนี้ เพราะสิ่งที่เป็นตัวประกันคือนโยบายทางการเงินของธนาคารเฟดและอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ราคาเริ่มต้นสัปดาห์ไว้ที่ 1.3840 และขยับอยู่ในกรอบดังกล่าวตลอดทั้งสัปดาห์ ก่อนที่จะปิดที่ 1.3925
  • USD/JPY เงินเยนบรรลุอีกหนึ่งความสำเร็จในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คู่ USD/JPY ทำระดับสูงสุดในรอบแปดเดือน นักเทรดหลายท่านยังกลัวที่จะเปิดตำแหน่งทั้งซื้อและขายในสถานการณ์เช่นนี้ ในทางหนึ่ง ราคาก็ถือว่าอยู่ในโซน overbought แล้ว แต่อีกทางหนึ่งราคาก็อาจจะทะยานขึ้นแบบราบเรียบได้ จริง ๆ แล้วนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น ในตอนต้นราคาได้ขยับขึ้นไปที่ระดับ 109.25 จากนั้นก็ปรับฐานลงมาที่ 108.35 ก่อนที่จะขยับขึ้นไปรอบใหม่ที่ 109.00 และปิดตลาดรอบวันทำการที่บริเวณดังกล่าว
  • คริปโตเคอเรนซี บิทคอยน์ได้ทำระดับสูงสุดที่ $58,340 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ หลังจากนั้นก็ดิ่งลงไปยัง $43,160 โดยปรับตัวลงมาถึง 25% จากการวิเคราะห์ของ Material Indicators ชี้ว่า แนวโน้มขาลงครั้งนี้เป็นผลมาจากการฉวยโอกาสของเหล่าฉลามและสถาบันเพื่อจะเข้าซื้อสินทรัพย์จากนักลงทุนรายย่อย เช่น จำนวนคำสั่งซื้อ BTC ที่จำนวน $0.1 ล้าน ถึง $1 ล้านดอลลาร์ทำสถิติสูงสุดบนตลาดเงินคริปโต Binance และขณะนี้ เพียงยี่สิบวันถัดมา บิทคอยน์ทำสถิติ $58,000 อีกครั้ง แต่ ณ ขณะที่กำลังเขียนบทรีวิวฉบับนี้ ราคายังไม่สามารถทำลายสถิติเก่าได้ โดยยังหยุดอยู่ที่ $58,240
    คู่ BTC/USD ทะยานขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วท่ามกลางช่วงขาขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐฯ แม้ว่านี่น่าจะเป็นเหตุผลอย่างเป็นทางการเหตุผลเดียว แต่ก็ไม่ใช่เหตุผลที่แท้จริงของตลาดกระทิง ซึ่งชัดเจนว่าพวกเขาจะพยายามดันราคาให้พุ่งขึ้นไปเหนือระดับ $60,000 อย่างแน่นอน และคำถามเดียวก็คือสิ่งนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไร
    อ้างอิงจาก CryptoQuant ความต้องการในบิทคอยน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจำนวนบนตลาดแลกเปลี่ยนก็ลดลงถึงระดับต่ำสุดในรอบสองปี ผู้เชี่ยวชาญจาก Bloomberg ชี้ในรายงานฉบับเดือนกุมภาพันธ์ว่า บิทคอยน์กลายเป็นสินทรัพย์ยอดนิยมขึ้นอย่างต่อเนื่องในหมู่นักลงทุนที่หลากหลาย และค่อย ๆ แทนที่ทองคำในพอร์ตการลงทุนอย่างช้า ๆ ตามความเห็นของผู้เขียนรายงานฉบับนี้ ช่วงความผันผวนของราคาที่ลดลงเป็นสัญญาณให้เห็นว่าบิทคอยน์กลายเป็นทางเลือกใหม่ในบรรดาสินทรัพย์เพื่อการลงทุนดั้งเดิมทั่วไป
    มูลค่ารวมในตลาดเงินคริปโตก็ทำระดับสูงสุดใหม่เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจาก $1,444 พันล้านเหรียญ เป็น $1,756 พันล้านเหรียญในช่วงเวลาสัปดาห์กว่า ๆ เท่านั้น และขณะนี้ มูลค่ารวมที่ $2 ล้านล้านดอลลาร์จะกลายเป็นระดับจิตวิทยาที่สำคัญสำหรับตลาดนี้
    สิ่งที่น่าสนใจ แม้ว่าการเติบโตของราคา BTC/USD ในรอบสัปดาห์ขึ้นมาที่ 20% ดัชนี Crypto Fear & Greed Index กลับปรับตัวลงมาจาก 77 เหลือ 70 ซึ่งแสดงว่าตลาดยังอยู่ในสภาวาอารมณ์ตลาดกระทิงโดยรวม
    อีกหนึ่งข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ การครองตลาดของบิทคอยน์ลดลงจาก 70.4% เหลือ 61.4% นับตั้งแต่ต้นปี 2021 ดัชนีของอัลท์คอยน์จากสิบอันดับแรกก็ปรับลดลงหรือคงที่ที่ระดับเดิม แต่มูลค่ารวมของเหรียญขนาดเล็กกว่านั้นเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10.3% ถึง 14.4% ซึ่งมีแนวโน้มต่ำที่เหรียญเหล่านี้จะกระตุ้นความสนใจในหมู่นักลงทุนขนาดใหญ่ ดังนั้น สถิติดังกล่าวจึงชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่เริ่มเทรดเหรียญอัลท์คอยน์มากขึ้นเพื่อการเก็งกำไรระยะสั้นเป็นหลัก

 

สำหรับบทวิเคราะห์ของสัปดาห์นี้ เราได้สรุปความเห็นของบรรดานักวิเคราะห์มากมาย รวมถึงคำคาดการณ์ที่วิเคราะห์จากพื้นฐานทางเทคนิคและสถิติกราฟต่างๆ โดยเราสามารถสรุปผลวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้:

  • EUR/USD การประชุมของธนาคารเฟดสหรัฐฯ จะจัดขึ้นในวันที่ 16-17 มีนาคม เรากำลังรอผลสรุปการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจจากคณะกรรมาธิการนโยบายตลาดเสรี (FOMC) ของสหรัฐฯ ซึ่งจะตามมาด้วยการตัดสินใจในอัตราดอกเบี้ย ความเห็นต่อนโยบายทางการเงิน และการจัดการแถลงข่าวโดยผู้บริหารธนาคารเฟด มีแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่ 0.25% ดังนั้น การคาดการณ์ของคณะกรรมาธิการฯ จะเป็นที่น่าสนใจเป็นพิเศษ มีความคาดหวังสูงต่อช่องว่างระหว่างอัตราการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ และยูโรโซน นักลงทุนยังน่าจะกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเริ่มใช้นโยบายตึงตัวทางการเงิน และทัศนคติของผู้บริหารธนาคารเฟดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ เมื่อพันธบัตรรัฐบาลรอบ 10 ปีมีผลตอบแทนที่คงที่ที่ 1.5-1.6% จะช่วยหนุนตลาดหุ้นและดันราคาคู่ EUR/USD ขึ้นไปเหนือระดับ 1.2000
    ณ ตอนนี้ ความได้เปรียบอยู่ที่ฝั่งดอลลาร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 70% สนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟ ออสซิลเลเตอร์ 85% และอินดิเคเตอร์เทรนด์ 80% บนกรอบ D1 คาดว่าราคาจะปรับลงไปยังโซน 1.1800-1.1850 โดยมีแนวรับที่นี่อยู่ในเส้น SMA 200 วัน ที่ 1.1826 และแนวรับใกล้ที่สุดอยู่ที่ 1.1900
    มุมมองทางเลือกเป็นของนักวิเคราะห์ 30% สนับสนุนโดยการวิเคราะห์กราฟบนกรอบ H4 ในส่วนอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคบนกรอบเวลานี้ให้บทวิเคราะห์ที่ดูน่าสับสน แต่เมื่อปรับจากการทำนายในรอบสัปดาห์เป็นรายเดือน จำนวนผู้เชี่ยวชาญที่สนับสนุนฝั่งตลาดกระทิงเพิ่มขึ้นเป็น 60% โดยมีแนวต้านอยู่ที่ 1.2025, 1.2060, 1.2170, 1.2200 และ 1.2270

  • GBP/USD นอกเหนือจากการประชุมของธนาคารเฟดสหรัฐฯ การประชุมของธนาคารแห่งชาติอังกฤษก็จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคมเช่นกัน จึงมีความเป็นไปได้ที่ผลลัพธ์นี้จะไม่ส่งผลต่อนักลงทุนมากเท่ากับพันธมิตรอีกฝั่งหนึ่งของแอตแลนติก อย่างไรก็ตาม เราจะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรและแนวโน้มในอนาคต ซึ่งตลาดจะกังวลว่าความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปจะเป็นไปอย่างไรหลังเบร็กซิตด้วยเช่นกัน
    ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเท่า ๆ กันในขณะนี้ หนึ่งในสามรวมถึงการวิเคราะห์กราฟในกรอบ H4 เชื่อว่า ราคาจะรักษาตัวในช่วงการซื้อขายที่ 1.3775-1.4000 และคาดว่าราคาจะขยับขึ้นมายังระดับสูงสุดของวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ 1.4240 และกลุ่มหนึ่งในสามสุดท้ายรอให้ราคากลับลงมาที่โซน 1.3600
  • USD/JPY ควรมีความชัดเจนในช่วงสัปดาห์ข้างหน้านี้ว่า ค่าเงินญี่ปุ่นจะหยุดแนวโน้มขาลงหรือไม่ และจะเกิดขาขึ้นแบบฉับพลันกับ USD/JPY หรือไม่ ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดมีอยู่สามประการ คือ ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ การประชุมของธนาคารเฟดสหรัฐฯ และการประชุมของธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม ซึ่งน่าจะมีผลกำหนดนโยบายธนาคารกลางฯ ในอนาคตอันใกล้
    การเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนในพันธบัตรรัฐบาลส่งผลเป็นแรงกดดันต่อเงินเยน ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นคาดว่าจะมีท่าทีตอบโต้ต่อการทรุดตัวที่น่ากังวลนี้ แต่ธนาคารฯ จะยืนยันในการควบคุมอัตราผลตอบแทนหรือไม่นั้นเรายังไม่ทราบในขณะนี้
    ทั้งนี้ เราควรทราบว่า แนวโน้มขาลงของเงินเยนครั้งล่าสุดและการปรับตัวขึ้นมาของ USD/JPY ในวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมานั้นเกิดขึ้นพร้อมปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้เล่นรายใหญ่มีความสนใจในความต่อเนื่องของเทรนด์ขาขึ้นของคู่นี้ที่ยังคงไม่หมดกำลังลง เทรนด์อาจกลับทิศทางลงมาจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลที่คงที่ของสหรัฐฯ หรือการเทขายสินทรัพย์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่อง
    แต่ ณ เวลาที่เขียนบทรีวิวฉบับนี้ ผู้เชี่ยวชาญ 55% คาดการณ์ว่า ราคาจะสามารถขยับขึ้นถึงโซน 109.50-110.00 ได้สำเร็จ และ 20% เห็นด้วยกับเทรนด์ด้านข้าง และ 25% โหวตให้กับเทรนด์ขาลงของคู่นี้ อินดิเคเตอร์เทรนด์เกือบ 100% บนทั้งกรอบ H4 และ D1 ให้สัญญาณสีแดง ส่วนออสซิลเลเตอร์บน H4 มี 80% ส่วนบน D1 มี 35% ที่ให้สัญญาณแล้วว่าราคาอยู่ในช่วง overbought และจะมีการปรับราคาลงมาโดยทันที ทั้งนี้ เมื่อเปลี่ยนจากการวิเคราะห์รายสัปดาห์เป็นรายเดือน นักวิเคราะห์ 80% คาดการณ์แล้วว่า ราคาน่าจะขยับลงมาและกลับสู่โซน 105.00 แนวรับ ได้แก่ 108.35, 106.65, 106.10 และ 105.70
  • คริปโตเคอเรนซี ในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นายไมค์ โนโวกราตซ์ ประธานธนาคารเงินคริปโต Galaxy Digital ได้เปลี่ยนคำทำนายของอัตราแลกเปลี่ยน BTC ในช่วงท้ายปี 2021 อย่างทันที “มันรู้สึกเหมือนว่า เราน่าจะได้อยู่ในช่วง $42,000 และ $60,000 สักพัก และจากนั้นจะได้เห็นราคาพุ่งขึ้นครั้งใหญ่ไปที่ $100,000”
    ทีมงาน Bloomberg  ก็มีท่าทีเป็นบวกเกี่ยวกับราคาบิทคอยน์ในอนาคต “หลังจากที่ราคายืนเหนือ $50,000 ก็มีโอกาสที่จะทดสอบระดับที่สูงกว่า ความต้องการในสินทรัพย์นี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และดัชนีเศรษฐกิจมหภาคก็ดูดีขึ้น” พวกเขาเขียนในรายงานฉบับเดือนกุมภาพันธ์
    นักวิเคราะห์จาก Bloomberg มองว่า บิทคอยน์จะสามารถขยับถึง $100,000 ในปีนี้ได้ และมูลค่านี้จะยังคงไต่ขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว
    แล้วบิทคอยน์จะอยู่ในช่วงนี้ไปจนถึงเมื่อไรอย่างที่นายไมค์ โนโวกราตซ์บอก ที่ราคา $42,000 และ $60,000 หรือเรากำลังใกล้ถึงช่วงการพุ่งทะยานครั้งใหญ่แล้ว?
    ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็มองโลกในแง่ร้ายเช่นกัน พวกเขาชี้ว่า นักขุดเหรียญที่กำลังซื้อการ์ดจอเพิ่มขึ้น ๆ จะส่งผลให้ราคาสูงขึ้นและเกิดภาวะขาดแคลนการ์ดจอในตลาด สถานการณ์เช่นนี้เริ่มคล้ายกันกับช่วงปลายเดือนธันวาคมปี 2017 – มกราคม 2018 เป็นช่วงที่ตลาดเห่อการขุดเหรียญและจบลงด้วยภาวะทรุดตัวของตลาด สถานการณ์ในครั้งนั้นทำลายนักขุดเหรียญหลายคน และนำไปสู่ช่วงฤดูหนาวเงินคริปโตในที่สุด ในครั้งนี้แม้อาจไม่ใช่ฤดูหนาวรอบใหม่ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าภาวะอากาศหนาวเหน็บก็ยังคงเป็นไปได้
    ในระยะยาวกว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการขุดเหรียญก็เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของสินทรัพย์ดิจิทัลเช่นกัน ค่าเงินที่เพิ่มขึ้นมาจากกระบวนการที่ใช้พลังงานที่เทียบมูลค่าได้กับการใช้กระแสไฟฟ้าของเนเธอร์แลนด์ทั้งประเทศ ณ จุด ๆ หนึ่ง มันจะต้องอาศัยพลังงานจากทั้งโลกในการออกเพียงหน่วยเดียวเท่านั้น ซึ่งนักอนาคตวิทยาจากมหาวิทยาลับ Singularity University ระบุว่านี่จะเป็นอุปสรรคที่เอาชนะไม่ได้ในตลาดเงินคริปโต
    อย่างไรก็ตาม หากมีผู้มองโลกในแง่ลบก็ย่อมมีผู้มองโลกในแง่บวก เคธี วูด ประธานบริษัทการลงทุน ARK Investment กล่าวว่า ราคาบิทคอยน์มีความสัมพันธ์เป็นอย่างมากกับราคาอสังหาริมทรัพย์ในขณะนี้ แต่ในอนาคต เธอเชื่อว่าบิทคอยน์จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่คล้ายกับสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอื่น ๆ เช่น พันธบัตรและจะเข้าสู่พอร์ตการลงทุนที่แนะนำสำหรับนักลงทุน “ฉันคิดว่าบิทคอยน์จะมีพฤติกรรมเหมือนกับตลาดที่มีรายได้คงที่” เธอกล่าวต่อ CNBC “เราได้รอดพ้นจากแนวโน้มตลาดกระทิงของพันธบัตรรอบ 40 ปี และเราจะไม่ประหลาดใจหากสินทรัพย์ประเภทใหม่นี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุน บางทีอาจจะเป็น 60% หุ้น 20% พันธบัตร และ 20% คริปโตเคอเรนซี ก็เป็นได้”
    ในส่วนคำทำนายที่ชี้ว่าอัตราแลกเปลี่ยนของบิทคอยน์อาจขยับถึง $1 ล้านเหรียญหรือมากกว่าในอีก 10 ปีข้างหน้านั้นเป็นของ เจสซี พาวเวลล์ ซีอีโอตลาดเงินคริปโต Kraken “ในขณะนี้ เราทำได้แต่เดา แต่หากคุณให้มูลค่าบิทคอยน์ด้วยเงินดอลลาร์ คุณจะต้องเข้าใจว่ามูลค่าของมันไม่จำกัด” เขากล่าวในบทสนทนากับนักข่าว Bloomberg เขายังกล่าวด้วยว่า ในที่สุดบิทคอยน์อาจแทนที่สกุลเงินพันธบัตรทั่วไปที่ไม่มีทองคำหรือโลหะมีค่าอื่น ๆ รองรับ อย่างไรก็ตาม เขาเห็นด้วยว่าความผันผวนสูงในตลาดมีความเสี่ยง และราคาอาจ “ขยับขึ้นหรือลง 50% ได้ทุกวัน” ดังนั้น สำหรับเขาแล้ว การลงทุนบิทคอยน์นั้นจำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะลงทุนในพอร์ตได้เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี

credit:NordFX